อุบลราชธานีเป็นจังวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศ
ประมาณ 20,312 ตารางกิโลเมตร ด้านเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ติดต่อกับกัมพูชาประชาธิไปไตย
ตามแนวเทือกเขาบรรทัด ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตกจดจังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ
คือ อำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย
อำเภอน้ำยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่
อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขมราฐ อำเภอชานุมาน อำเภออำนาจเจริญ
อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน อำเภอข้าวปุ้น
อำเภอเสนางคนิคม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอตาลสุม อำเภอสำโรง อำเภอศิรินธร
กิ่งอำเธอลืออำนาจ และกิ่งอำเภอดอนมดแดง
ดินแดนแถบนี้ได้มีชนชาติ ข่า ส่วย อพยพมาจากรุงศรีสัตนาคนหุต
อาศัยอยู่มาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้นในสมัยรัชกาลที่
1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงคิดจะรวบรวมผู้คนที่แตกกระจัดกระจายจากภัยสงครามให้มาอยู่เป็นกลุ่มก้อน
ดังนั้นถ้าใครสามารถรวบรวมผู้คนได้มากและอยู่กันอย่างมั่นคงก็จะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง
ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2329 ท้าวคำผง ซึ่งได้รวบรวมผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำกินอยู่
ณ บริเวณห้วยแจระแม อันเป็นที่ราบริมแม่น้ำมูล และต่อมาภายหลังมีความชอบจากการนำกำลังเข้าช่วยกองทัพไทยตีเมืองนครจำปาศักดิ์
จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านแจระแมเป็นเมืองอุบลราชธานี
และแต่งตั้งให้ท้าวคำผงเป็นพระปทุมวรราชสุริยวงศ์เจ้าเมือง ภายหลังได้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่
ดงอู่ผึ้ง อันเป็นที่ตั้งจังหวัดในปัจจุบัน โดยมีเมืองเทียบเท่าชั้นจัตวาขึ้นอยู่รวม
7 เมือง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล เมืองอุบลราชธานีถูกรวมอยู่ในบริเวณหัวเมืองลาวกาว
ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีเมืองอุบลราชธานีเป็นที่ตั้งมณฑล และเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2443 เป็นมณฑลอีสาน
ในปี พ.ศ.2468 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงลดฐานะมณฑลอุบลราชธานีลงเป็นเพียงจังหวัดของมณฑลนครราชสีมา
จนกระทั่งยุบเลิกมณฑลในปี พ.ศ. 2476 จึงกลางเป็นจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมา
การเดินทาง
การคมนาคมของจังหวัดอุบลราชธานีสะดวกสบายทั้งทางรถยนต์ รถไฟ
และทางอากาศ
1. ทางรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข
1 (พหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข
24 (โชคชัย-เดชอุดม) ไปจนสุดสาย รวมระยะทาง 629 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง>>
มีทั้งธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ
(ตลาดหมอชิต) วันละหลายเที่ยว รายละเอียด สอบถามได้ที่ โทร.
0-2271-0101-5 (รถธรรมดา) และ โทร. 0-2279-4484-7 (รถปรับอากาศ)
สหมิตรทัวร์ โทร. 0-2282-5271 ศรีอุบลทัวร์ โทร. 0-2271-2985
นครชัยทัวร์ โทร. 0-2271-2995 บริษัท 25 น. จำกัด โทร. 0-2271-2985
บริษัท จิตรสวัสดิ์ จำกัด โทร. 0-2278-0769
3. รถไฟ>>
มีรถด่วน และรถเร็ว กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี
และสุรินทร์ อุบลราชธานี อีกด้วย รายละเอียดสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง
โทร. 0-2223-7010, 223-7020
4.
เครื่องบิน>> บริษัทการบินไทย
จำกัด มีเครื่องรับส่งผู้โดยสาร และพัสดุภัณฑ์ ระหว่างกรุงเทพฯ-อุบราชธานี
ทุกวัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด ถ.หลานหลวง
กรุงเทพฯ โทร. 0-2280-0070, 280-0080 อุบลราชธานี โทร. (045)
254-431 หรือที่ตัวแทนจำหน่ายในโรงแรมบดินทร์ อุบลราชธานี โทร.
(045) 255-777
Links เวปไซด์ท้องถิ่น
http://www.ubonratchathani.go.th
http://www.ubonclick.com
|